วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Thai Teachers TV โทรทัศน์ครู : สอนวิทย์คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย (กรรณิการ์ เฉิน)

สรุปทีวีครูเรื่องสอนสอนวิทย์คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย
นำเสนอสื่อการทดลองวิทยาศาสตร์ของ คุณครูกรรณิการ์ เฉิน เพื่อเป็นเทคนิคในการพัฒนาการของเด็กปฐมวัยโดยใช้วัสดุรอบตัว โดยใช้น้ำตาลก้อนหยดสีลงไปแล้วดูการเปลี่ยนแปลงการใช้กระดาษทิชชูอธิบายความลับของสีดำซึ่งมีสีอื่นๆ ซ่อนอยู่มากมาย หรือการอธิบายเรื่องแรงตึงของผิวน้ำโดยใช้อุปกรณ์ง่ายๆ ที่อยู่รอบตัวในการอธิบายให้เห็นภาพ และเข้าใจได้ง่ายๆ

Thai Teachers TV โทรทัศน์ครู : สอนวิทย์คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย (กรรณิการ์ เฉิน)

วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สรุปวิจัยเรื่อง 
ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน


สรุปบทความเรื่อง เติม"วิทย์"ให้เด็กอนุบาล 
          
              วิทยาศาสตร์คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของ ตนเอง ซึ่งความพยายามเช่นนี้จะติดตัวกับมนุษย์เรามาตั้งแต่แรกเกิด เห็นได้จากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบผู้ใหญ่ หลายคนที่ไม่เข้าใจในธรรมชาติความเป็นนักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยๆ ของเด็ก จึงปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการไม่ให้ความสนใจกับคำถามและการ ค้นพบแบบเด็กๆ หรือไม่ได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิด ที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม
             “สำหรับ ปัญหาที่พบในขณะนี้ก็คือ บางครั้งเด็กมีคำถาม แล้วครูตอบไม่ได้ เพราะเราก็ต้องเข้าใจครูปฐมวัยด้วยว่า อาจไม่มีพื้นฐานในสายวิทย์มากนัก ดังนั้นเมื่อครูเกิดตอบคำถามเด็กไม่ได้ก็จะเกิดหลายกรณีตามมา เช่น ครูบอกเด็กว่า เธออย่าถามเลย เด็กก็ถูกปิดกั้นการเรียนรู้ไปเสียอีก กับอีกแบบคือ ครูตอบคำถามเด็ก ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ควรจะเป็นการเรียนรู้ไปด้วยกัน ให้เด็กหาคำตอบด้วยตัวเอง ไม่ใช่รอให้ครูหามาป้อน และถ้าครูตอบผิด เด็กก็อาจจำไปผิดๆ ได้” 
            แนวทางปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้ สำหรับ ข้อ 5 นั้น ดร.เทพกัญญากล่าวว่า ในระดับเด็กอนุบาลอาจยังไม่สามารถก้าวไปถึงจุดนั้นได้ อาจต้องเป็นเด็กชั้นประถมศึกษาขึ้นไป แต่คุณครูก็ไม่ควรละเลย หากมีเด็กอนุบาลบางคนเข้าใจ คุณครูก็อาจช่วยให้เขาสามารถอธิบายได้แบบวิทยาศาสตร์แต่ถ้าไม่ถึงก็ไม่จำเป็นต้องเคี่ยวเข็ญเด็กๆ แต่อย่างใด ไม่เพียงแต่ คุณครูและโรงเรียนที่จะเป็นผู้ส่งเสริมทักษะด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กๆ แต่พ่อและแม่เองนั้นก็มีบทบาทมากเช่นกัน แนวทางดีๆ ข้างต้น อาจเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้เด็กๆ และครอบครัวในยุคต่อไปเข้าใจ และรักใน “วิทยาศาสตร์“ ได้มากขึ้น

วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บันทึกเข้าเรียนครั้งที่18

เนื้อหาที่เรียน
 - cooking แกงจืดเต้าหู้
 ขั้นตอนการจัดประสบการณ์
- เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม
- ครูพูดทักทายเด็กๆถ้าว่า "เด็กๆเห็นของที่ครูเตรียมมาวันนี้มั้ยค่ะ? มีอะไรบ้าง?"
- "เด็กๆคิดว่าวันนี้คุณครูจะพาทำอะไร? มีคนไหนอยากทำบ้าง?"
- ครูกับเด็กช่วยกันทำแกงจืด
- ครูคอยถามเด็กๆว่าเห็นอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง เช่นสีของหมู ได้กลิ่นหอมของแกงจืด
- เมื่อทำเสร็จแล้ว ครูและนักเรียนร่วมกันอธิบายสักถาม ถึงขั้นตอนการทำแกงจืด การเปลี่ยนแปลงของสิ่งของต่างๆ ประโยชน์ของแกงจืด..


วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บันทึกเข้าเรียนครั้งที่ 17
วันที่ 16 กันยานย 2556
เนื้อหาที่เรียน
-เขียนแผนเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การทำcooking

บันทึกเข้าเรียนครั้งที่ 16
วันที่ 15 กันยายน 2556
 *เรียนชดเชยของวันที่ 9 กันยายน 2556

นำเสนอสื่อของเล่นเข้ามุม
- กล่องสัมพันธ์หรรษา
บันทึกเข้าเรียนครั้งที่ 15
วันที่ 9 กันยายน 2556

เนื้อหาที่เรียน
-ไม่มีการเรียนการสอน

หมายเหตุ
*เนื่องจากอาจารย์ติดธุละ
- นัดเรียนชดเชย วันที่15 กันยานย 2556 พร้อมนำเสนองานทุกอย่าง